โครงการปฏิบัติการแก้จน (OM)
Operating Model Solve Poverty (OM)
โครงการปฏิบัติการแก้จน(OM) : กองบุญข้าวปันสุข
กองบุญข้าวปันสุข โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมชาวบ้านหนองทับม้า ต.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญพร้อมกับแขกผู้มีเกียรติมากมาย ร่วมกันทำพิธีบายศรีสู่ขวัญเปิดกองบุญข้าวปันสุข “กินบ่บก จกบ่เบิด” เพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อนในตำบลเสนางคนิคม จากการสำรวจข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบร็ดเสร็จและแม่นยำ โดยสร้างพื้นที่นำร่อง pilot project จากข้อมูลผู้เดือดร้อนในชุมชนจำนวน 29 ราย ชุมชนได้ช่วยเหลือโดยการสร้างพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารแปลงผักรวม ช่วยซ่อมแซมที่อยู่อาศัยบ้านพอเพียงในหมู่ 11 จำนวน 4 ครัวเรือน พร้อมทั้งยังมีโครงการจัดทำแผนธุรกิจแปรรูปข้าวทุ่งรวงทอง กองทุนสวัสดิการชุมชนที่ขอรับการสมทบในปี 64 (รอบ7) จำนวน 140,562 บาท ทั้งยังมีทรัพยากรจากชุมชนและหน่วยงานอื่นเข้ามาสมทบ เพื่อที่จะให้ชุมชนมีความพร้อมช่วยเหลือเกื้อกูลแก้ไขปัญหาความยากจนโดยชุมชนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ในชุมชนให้ครบทุกด้านจัดการตนเองโดยคนในชุมชนร่วมกันทำ สร้างความยั่งยืนต่อไปในอนาคตข้าวที่ผ่านพิธีสู่ขวัญข้าวก็จะทำไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง เพื่อจัดสรรให้ชาวบ้านที่เดือนร้อนได้นำไปบริโภค หรือปลูกเพื่อขยายพันธ์ สร้างความมั่นคงทางอาหาร และนำส่วนหนึ่งมาคืนหมุนเวียนช่วยเหลือคนอื่นต่อไป
โครงการปฏิบัติการแก้จน(OM) : ห่วงโซ่คุณค่าสมุนไพร
โมเดลแก้จน “ห่วงโซ่การผลิตและคุณค่าทางสมุนไพร” จ.อำนาจเจริญ โดยมี นางสาวเฉลิมศรี ระดากูล รอง ผอ.พอช., น.ส.จันทนา เบ็ญจทรัพย์ ผช.ผอ., คณะอาจารย์วิจัยแก้จนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, นายอำเภอพนา, ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.อำนาจเจริญ, ประธานบริษัทประชารัฐรักสามัคคี อำนาจเจริญ, วิสาหกิจเพื่อสังคม อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ, เกษตรอำเภอชานุมาน, เกษตรอำเภอพนา, ผู้แทน พมจ.อำนาจเจริญ, หอการค้าจังหวัดอำนาจเจริญ, YEC อำนาจเจริญ, เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน นายก อบต.พนา, ผู้แทนจากโรงพยาบาลลืออำนาจ รอง ผอ.โรงพยาบาลพนา และสมาชิกเครือข่ายสมุนไพรบ้านโนนธาตุ สู่แผนการสร้างคุณค่า (value proposition canvas) ทุกภาคส่วนออกแบบ “อำนาจเจริญเมืองสมุนไพร” สู่โมเดลแก้จน ห่วงโซ่การผลิตและคุณค่าสมุนไพร อำนาจเจริญก่อน (Amnatcharoen first) คือการทำให้สมุนไพรอยู่ในวิถีชีวิตคนอำนาจเจริญ ทั้งการกิน การใช้ และเพื่อสุขภาพ สร้างรูปธรรมของ “อำนาจเจริญเมืองธรรมเกษตร”
โครงการปฏิบัติการแก้จน(OM) : การพัฒนากองทุนและการลงทุนอาชีพ
โครงการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาด้วยการใช้ข้อมูลจากกระบวนการสอบทานข้อมูลอย่างรอบคอบด้วยทั้งจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) จากการสำรวจและสอบทานข้อมูล 100 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่ในระยะที่ 1 ทุกพื้นที่ของจังหวัด และ ในทุกปฏิบัติการโมเดลแก้จน ‘โมเดลแก้จน’ (Operating Model-OM) ในระยะที่ 2 รวมทั้งใช้ข้อมูล จากการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ข้อมูลทั้งสองชุดได้นำมาเป็นฐานกำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติงานช่วยเหลือครัวเรือนคนจนผ่าน ‘โมเดลแก้จน’ ผลการศึกษาพบว่าการค้นหาและสอบทานซ้ำครัวเรือยากจนในพื้นที่ พบจำนวนครัวเรือนคนจน รวม 4,168 ครัวเรือน จำนวนประชากร 18,253 คน คิดเป็นร้อยละ 3.39 ของครัวเรือน และประชากรคิดเป็นร้อยละ 4.85 ของประชากรทั้งหมดในจังหวัดอำนาจเจริญ โครงการยังได้มีการ Cleansing ข้อมูลในระบบ โดยการตรวจสอบเปรียบเทียบทั้งในระบบ Livingonnewpace และ pppconnext ทางโครงการได้ส่งต่อความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนให้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนตามโครงการลดความยากจนของรัฐ
© Copyright มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2023